วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

"เทคโนโลยี Cloud Computing"

คำว่า Cloud Computing มีผู้ได้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย เช่น

”การประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ ระบบ จัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร” โดย JavaBoom Collection

หรือ คำนิยามจากวิกิพีเดีย ที่ว่า “Cloud Computing อ้างถึงทรัพยากรสำหรับการคำนวณผลที่ถูกเข้าถึง ซึ่งโดยทั่วไปถูกเป็นเจ้าของและถูกดำเนินการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 (third-party provider) ซึ่งได้รวบรวมพื้นฐานที่จำเป็นทั่วไปเข้าไว้ด้วยกันในตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) โดยผู้บริโภคบริการ cloud computing เสียค่าใช้จ่ายเพื่อความสามารถการคำนวณหรือการประมวลผลตามที่ต้องการ และไม่จำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจในเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งซ่อนอยู่ อันที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่าย (server) อย่างไรก็ตามมีตัวเลือกสำหรับผู้พัฒนาที่ต้องรู้และต้องคำนึงถึงในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนของการบริการแพล็ตฟอร์ม (platform services)

การที่มีบางท่านให้คำนิยาม Cloud Computing ว่า “การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าอาจเป็นเพราะ Cloud Computing เป็นการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมายบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราเพียงแต่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่าทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย ทั้งที่อยู่ใกล้ ๆ หรือไกลออกไป เป็นการใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ จึงใช้สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆแทนที่ตั้งของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีไว้ ให้บริการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่สามแทน

มาถึงตรงนี้คงพอจะเห็นภาพของ Cloud Computing บ้างแล้ว จึงขอกล่าวถึงคำที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก เช่น

  • Cloud Provider สำหรับคำนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะหมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud นั่นเอง
  • Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud

ความแตกต่างระหว่าง Cloud Computing กับ Hosting ประเภทต่างๆ เช่น Application Hosting หรือพื้นที่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์, Web Hosting หรือพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์, File Hosting หรือพื้นที่ให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลนั้น อยู่ตรงที่ Cloud Storage มี อิสระในการปรับขีดความสามารถ สมรรถนะ และขนาดทรัพยากรได้ตามภาระงาน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการขยายทรัพยากรสำหรับผู้ให้บริการ เพราะมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการบุคคลที่สามที่เป็นผู้จัดหาและจัดสรร ทรัพยากรอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจำนวนโปรแกรมจะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมากขึ้นเท่าไร หรือต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ Cloud ไม่จำเป็นต้องกังวลในข้อจำกัดนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นจะขึ้นกับการจ่ายตามที่ใช้จริง (pay-per-use) และอาจมีเรื่องอื่นๆ อีกขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละเจ้าที่ให้บริการ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่มากมาย เช่น Google Apps, Google App Engine, IBM Blue Cloud, Amazon EC2 เป็นต้น

เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของ Cloud Computing
ข้อดี
ข้อเสีย
1.ลด ต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น
2.ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
3.มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4.ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5.มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง
1.เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
2.ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
3.ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ
Cloud Computing กับความปลอดภัย (Security)
ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยนั้น อันที่จริงในเชิงเทคนิคลูกค้าหรือผู้ใช้บริการสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง เช่น การทำ Virtualization โดยลูกค้ามีสิทธิ์เต็มที่ในลักษณะของผู้ดูแลระบบเพื่อการกำหนดความปลอดภัยให้กับเครื่อง หรือ Virtual Machine ของตน, การใช้ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ดูแลระบบพยายามดูข้อมูลของลูกค้า และการ Monitoring ทั้งห้อง data center จนถึงขั้น capture หน้าจอ admin
แต่ทั้งนี้ยังคงมีจุดอ่อนสำคัญที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง นั่นคือ เมื่อเป็นการจ้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาดูแลระบบของเรา เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนนั้นจะไม่แอบเก็บข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ของตน เองหรือเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ข้อมูลยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หรือถ้าเป็นองค์กรทางด้านการเงิน ถึงแม้เราจะมีระบบตรวจสอบ หรือ audit เพื่อติดตาม ว่าใครทำอะไร ตรงไหน แต่เมื่อเกิดเหตุและจับได้ก็คงทำได้แค่ลงโทษตามกฎบริษัทหรือดำเนินคดีตาม กฎหมาย แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการจัดจ้างบุคคลภายนอก (outsourcing) หรือ ใช้บุคลากรภายใน เหตุการณ์เช่นนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราต่างต้องอาศัยความเชื่อใจและใช้จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ สิ่งที่ผู้ให้บริการ Cloud หรือ Cloud Provider ทำให้ได้ ก็คือ การรับประกันสัญญา หรือกำหนดมาตรฐานการดูแลระบบ และยึดมั่นในมาตรฐานนั้น นอกจากนี้ควรมีการควบคุมการเปิดให้บริการของ Cloud Provider นั่นคือ มีการกำหนดว่าบริษัทที่จะเป็น Cloud Provider ได้ อาจต้องได้รับการรับรอง หรือมี certification อะไรรับรองบ้าง ต้องมี ISO ควบคุม และต้องมีเทคโนโลยีความปลอดภัยอะไรเสนอต่อลูกค้า (Cloud Consumer) บ้าง เป็นต้น

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี DLNA คือ


เทคโนโลยี DLNA คือ

         คำว่า DLNA  ย่อมาจากคำว่า  Digital Living Network Alliance นั่นเองครับ โดยหลักการที่น่าจะพอมองเห็นภาพง่ายๆก็คือ การทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ใดๆที่สามารถเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ท และรองรับระบบ DLNA ได้นั้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ Notebook โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่น บลูเรย์  หรือแม้แต่ AVRที่มีระบบ network ที่น้าๆใช้ดูหนังกันอยู่นี่ล่ะครับ โดยสามารถทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด หากต้องการจะดึงรูป เล่นเพลง หรือวีดีโอจากมือถือไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ก็สามารถทำการแชร์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องต่อสายให้
อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก Digital Living Network Alliance หรือ DLNA จะอนุญาตให้ท่านทำการแบ่งปันคอนเทนท์ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบๆ บ้านของท่านผ่านทางเครือข่าย Wi-Fi® ของท่านในบ้าน. ตัวอย่างเช่น, ท่านสามารถที่จะเซ็ตอัพเครื่องคอมพิวเตอร์ VAIO® ของท่านเป็น DLNA server และเปิด เพลง, วิดีโอ และรูปถ่ายต่าง ๆ ที่บนเครื่องทีวีของท่าน ได้ผลิตอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ออกมามากมายเช่น เครื่องเล่น Blu-ray™ Disc , เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์สตาร์ทโฟนของ Sony , เครื่องแทปเล็ตและอื่น ๆ อีกมากมาย.
 ทำงานได้โดย
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA สามารถที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านได้เหมือนกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน. เมื่อทำการเชื่อมต่อได้แล้ว, ท่านสามารถจะเลือกดูโฟล์เดอร์ที่เลือกไว้ในเครื่องพีซีที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ของมีเดียของท่าน จากบนหน้าจอทีวีได้เลย และเลือกเพลงเพื่อเปิดฟัง หรือดูรูปถ่าย และวิดีโอต่างๆ เพื่อเปิดดูได้.
แอพพลิเคชั่นสำหรับแบ่งปันไฟล์เช่น Windows Media® Player, ซอฟต์แวร์ VAIO® Media server , Serviio™ DLNA Media server, Twonky® suite หรือ EyeConnect UPnP™ AV Media Streaming Software จะทำการเชื่อมต่อให้ระหว่าง ทีวี และเครื่องคอมพิวเตอร์.
ไฟล์เพลงต่าง ๆ จะมีการแสดงตาม ชื่อเพลง ชื่อศิลปิน วันที่ออก และรูปศิลป์ของหน้าปก, ในขณะที่รูปถ่ายจะแสดงเป็นรูปตัวอย่างขนาดเล็ก(thumbnails)เพื่อที่จะช่วย ให้การเลือกทำได้อย่างรวดเร็ว. ส่วนวิดีโอต่าง ๆ จะทำการแสดงตามชื่อไฟล์ . ท่านเพียงทำการเลื่อนไปยังไฟล์เพลง วิดีโอ หรือรูปถ่ายที่ต้องการ แล้วทำการคลิกเพื่อรับฟังหรือรับชมได้เลย .
 ต้องมีอะไรบ้างถึงจะดูรูปถ่าย วิดีโอ หรือฟังเพลง บนอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน DLNA ได้ ?
ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องการเพื่อที่จะดูรูปถ่าย วิดีโอ หรือรับฟังเพลง ในอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน DLNA :

  • เครือข่ายที่แอ็คทีฟ: อุปกรณ์นั้นจะต้องเชื่อมต่อเข้าไปโดยใช้การเชื่อมต่อแบบสายหรือไร้สายเข้า กับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือเข้ากับระบบเครือข่าย LAN(Local Area Network)ในบ้านของท่าน.
  • เซิร์ฟเวอร์ของมีเดียดิจิตอลที่ได้รับการรับรองโดย DLNA (DLNA Certified Digital Media Server): อุปกรณ์เหล่านี้จะเก็บบันทึกคอนเทนท์และจัดให้กับเครื่องเล่นสื่อดิจิตอล ระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์จัดเก็บที่เชื่อมต่อกับเครือ ข่าย(NAS).
  • เครื่องเล่นสื่อดิจิตอล ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA หรือเครื่องไคลเอนท์: อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถหารูปถ่ายและวิดีโอจากอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ตัวอื่นและทำการเล่นบนเครื่องทีวี, ระบบสเตริโอ, ระบบโฮมเธียร์เตอร์, เครื่องเล่น Blu-ray Disc™ และคอนโซลเกมส์ต่าง ๆ ของท่านได้.
หมายเหตุ: ตัวควบคุมสื่อดิจิตอล (Digital Media Controller) สามารถที่จะใช้เป็นอุปกรณ์ตัวเลือกที่ทำการหาคอนเทนท์ในเซิร์ฟเวอร์ของสื่อ ดิจิตอล และทำการเล่นในเครื่องเล่นสื่อดิจิตอลได้. ตัวอย่างบางอย่างของรายการเหล่านี้ได้แก่: แทปเล็ตอินเตอร์เน็ต, กล้องดิจิตอลที่เปิดใช้งาน Wi-Fi® ได้ และเครื่องดิจิตอลช่วยเหลือส่วนบุคคล(PDA). สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ DLNA และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถจะดูได้จากที่ http://www.dlna.org.

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ipv4และipv6

IPv4 
 
IPv4 คือ หมายเลข IP address มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท

IPv6 
 
IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 บิท IPv6 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 6

ความแตกต่างของ IPv4 และ IPv6

การกำหนดหมายเลขของ IPv4 จะกำหนดได้น้อยกว่า IPv6 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า และความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 คือ การเลือกเส้นทาง ( Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Networl Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)